top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนchayaneechl

Vaudeville, Minstrel Show และ จำอวด ประวัติศาสตร์อันยาวนานก่อนมาถึง Stand-upcomedy


บทความ โดย ชญามีน



ภาพวาดหญิงสาวกลุ่มหนึ่งในชุดรัดรูป สวยสด สีสัน ลวดลายแปลกตา ประกอบกับชุดเครื่องหัวซึ่ง ประดับด้วยหมวกทรงเก๋ประหลาด หรือ ดอกไม้งามนานาชนิด ยืนเรียงรายลดหลั่นราวกับโพสต์ท่าเป็น นางแบบผู้สูงส่ง องค์ประกอบของภาพถูก ทําให้สมบูรณ์ขึ้น ด้วยการประดับด้วยตัวอักษรหนาใหญ่ตัวเบ้อเริ่มเทิ่มสีแดงเด่นคือโปสเตอร์ของการแสดงที่มีชื่อว่า Vaudeville



ประเทศฝรั่งเศสในช่วงปลายศตวรรษที่ 18,

Vaudeville ได้ถือกําเนิดขึ้น


การแสดงชื่อไม่คุ้นหูนี้เป็นการแสดงที่เน้นความบันเทิงเป็นสําคัญ ไม่ต้องคํานึงถึงความเป็นเหตุเป็นผลใดๆจุดเด่นของการแสดงชุดนี้คือการผสมผสานการแสดงกับการเต้นรําและการเต้นบัลเลต์ มีคนกล่าวยกย่องว่า การแสดงชนิดนี้เป็นจุดเรีมต้นของศิลปะการแสดงสมัย ใหม่ และเป็นเหรียญคนละด้านกับโอเปร่า(อุปรากร) ที่มักแสดงเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ โรแมนติก คลาสสิคและอลังการ ในทางกลับกัน Vaudeville นั้นให้อารมณ์และสีสัน แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงด้วยเนื้อเรื่องที่เลือกมาแสดงมัก จะเป็นเรื่องราวตลกของชีวิตและประเพณีชนชั้นกลาง เน้นการสร้างสถานการณ์ตลกขบขันขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้น บ่อยครั้งในระหว่างการแสดง จุดสังเกตของ Vaudeville คือ หนึ่ง ต้องมีเครื่องดนตรีและโชว์การเต้นรําอย่างเต็มที่ และ สอง คือต้อง เป็นเรื่องราวตลกเท่านั้น


เอาล่ะ เรารู้เรื่อง Vaudeville ที่มีกําเนิดจากประเทศฝรั่งเศสแล้ว ตัดภาพมาที่สหรัฐอเมริกากันบ้างดีกว่า


ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกามีการแสดงที่ชื่อว่า Minstrel shows ซึ่ง เป็นการแสดงที่ประกอบ ไปด้วยการการละเล่น การแสดงเต้นรํา การแสดงดนตรี โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการแสดงเรื่องราวล้อเลียนคนผิวสี ตัวละครที่โด่งดังที่สุดที่เกิดจากการแสดงนี้ คือ ตัวละครที่รู้จักกันในนามว่า ‘Jim Crow’





Jim Crow คือตัวละครที่เกิดจากการแสดง Minstrel shows ของ Thomas Dartmouth Rice ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักแสดง นักร้อง นักเต้น นักเขียนบทชาวอเมริกัน มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.1808-1860

Thomas Rice สร้าง Jim Crow ขึ้นมาด้วยการทาใบหน้าของตัวเองให้ดําสนิท ทาปากแดงเหมือนตัวตลก ใส่เสื้อผ้าขาดวิ่น พูดเลียนแบบภาษาอังกฤษสําเนียงแอฟริกันอย่างเกินจริงและผิดเพี้ยน แสดงพฤติกรรมโง่ ๆ เซ่อ ๆ ซ่า ๆ และในการแสดงของเขา เขามักร้องเพลง “Negro Ditties” และ “Jump Jim Crow” รวมถึงเต้น ระบําตามแบบที่เขาอ้างว่าได้เรียนรู้มาจากทาสผิวสี การแสดงของเขาสร้างความบันเทิงอย่างมหาศาลให้กับคนอเมริกันผิวขาว จนการแสดง Minstrelshows ได้รับความนิยมเป็นวงกว้างและเกิดเป็นอุตสาหกรรมการแสดงขึ้นในปี ค.ศ. 1845 เรื่อยมาจนถึง ช่วงศตวรรษที่ 20 คาแรคเตอร์คนหน้าดํา ปากแดงแบบ Jim Crow ก็ถูกนํามาต่อยอดให้เป็นตัวตลกในภาพยนตร์ อย่างเรื่อง The Jazz Singer ภาพยนตร์ยอดฮิตปี 1927 ก็ยังมีฉากที่ให้ Al Jolson ผู้รับบทเป็นพระเอกของเรื่องแสดงตลกด้วยมุกนี้


ในระหว่างที่การแสดง Minstrel shows เริ่มเสื่อมความนิยมลงด้วยการรณรงค์เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของคนผิวสี Vaudeville จากฝรั่งเศสที่ได้รับความนิยมอย่างมากได้ข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาจนถึง แคนาดาและแถบอเมริกาทั้งหมด ก็เข้ามาแทนที่ Minstrel shows อย่างพอดิบพอดี


Vaudeville ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกานี้ ไม่ใช่การแสดงแบบดั้งเดิมที่เคยแสดงอยู่ที่ฝรั่งเศสทั้งหมด มันได้ ถูก ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับความชื่นชอบและรสนิยมของเจ้าของประเทศมากขึ้น การแสดงมีลักษณะเป็นการแสดงหลาย ๆ อย่างรวมกัน เน้นความวาไรตี้หลากหลาย แต่แน่นอนว่าที่สุด คือเน้นความบันเทิง คือ มีการร้องเพลง เล่นดนตรี แสดงตลก มายากล กายกรรม รวมไปถึงบางครั้ง ก็มีการแสดงสัตว์ด้วย คือหลากหลาย จิปาถะมาก ๆ เรียกได้ว่ราอะไรที่สนุกที่ตลกที่เรียกเสียงหัวเราะและความบันเทิงได้ก็มากองรวมกันอยู่ตรงนี้นั่นเอง


แต่ไม่นานนัก เมื่อเทคโนโลยีรุดหน้า ความนิยมของการแสดง Vaudeville ก็ถดถอยลงตามลําดับ เพราะภาพยนตร์ได้ยึดครองหัวใจคนไว้และโทรทัศน์ก็แทรกซึมเข้าไปอยู่ในทุกครัวเรือนไปแล้ว


แต่ ๆ


การแสดงทั้งหมดที่ว่ามามันได้บ่มเพาะเมล็ดพันธ์ขึ้นมาเป็นนักแสดงตลกจํานวนมาก สิ่งที่พวกเขายังทําตอ่ไปก็คือสิ่งที่พวกเขาถนัดที่สุดนั่นก็คือการแสดงตลก พวกเขาทั้งเข้าไปสู่วงการภาพยนตร์ วงการโทรทัศน์และการหาพื้นที่ในการแสดงเดี่ยวให้กับตัวเองซึ่งก็คือการเดี่ยวไมโครโฟนนั่นเอง


ย้อนกลับมาที่เจ้า Minstrel shows อีกครั้งว่ามันเกี่ยวกับ Stand-upcomedy อย่างไรก็ต้องขออธิบาย ให้ชัดอีกครั้งว่า Stand-upcomedy มันพัฒนามาจาก Minstrel shows อย่างแน่นอน ทั้งรูปแบบของการแสดง ที่แสดงด้วยคนเพียงคนเดียวและการแสดงที่ผู้ชมและคนฟังมาเสพโดยคาดหวังความตลก ตามชื่อที่ใช้โฆษณา อยู่บนโปสเตอร์ของการแสดงชนิดนี้นั่นเอง



อธิบายเพิ่ม, Monologue คือ ภาษาทางการแสดงที่หมายถึงการแสดงคนเดียว บทพูด มักจะเป็นบทพูดยาว โดยส่วนมากผู้แสดงจะสวมบทบาทเป็นตัวละครและแสดงให้ผู้ชมได้ดู Monologue Comedian จึง หมายถึงการแสดงตลกเดี่ยว ที่ผู้แสดงอาจจะสวมบทบาทเป็นคนอื่น อย่างเช่นที่ Thomas Dartmouth Rice สร้างตัวละคร Jim Crow ขึ้นมานั่นเอง ซึ่งเดี่ยวไมโครโฟนได้พัฒนามาจากการแสดงชนิดนี้อย่างไม่ต้องมีข้อสงสัย



จนกระทั่ง ในช่วงปี ค.ศ.1950 รูปแบบการแสดงก็เริ่มคล้ายคลึงกับ Stand-up comedy ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน คือมีนักแสดงเล่าเรื่องตลกตัวเปล่า ๆ โดยมีไมโครโฟนเพียงหนึ่งตัวช่วยขยายเสียงให้ผู้ชมได้ยินเท่านั้น จนถึงตอนนี้แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานนับทศวรรศแต่การแสดงนี้ก็ยังมีอยู่ และเริ่มมี พื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ การแสดงรูปแบบนี้ในสหรัฐอเมริกาสามารถหาฟังได้ง่ายมาก ๆ นักพูดเดี่ยวไมโครโฟนสามารถหาพื้นที่ให้ตัวเองได้ทดลองพูดให้คนฟังได้ตามคลับตามบาร์ บางคนเริ่มต้นจากเวทีเล็ก ๆ จนประสบความสําเร็จมาก เป็นนักแสดงตลกที่คนรู้จักจนสามารถก้าวเข้าสู่วางการภาพยนตร์ได้ นอกจากนี้การแสดงรูป แบบนี้ยังหาชมหาฟังได้ง่ายขึ้นทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์หรือจะเลือกชมทางช่องยูทูปหรือเน็ตฟลิกซ์ก็ได้




ถือได้ว่ารูปแบบการแสดงแบบเดี่ยวไมโครโฟนเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีการตั้งสมาคมเพื่อสนับสนุนให้ผู้คนเป็นนักพูดตลกเดี่ยว นอกจากจะเปิดเวทีให้ทดลองความสามารถของ ฝีปากแล้วยังมีการเปิดสอนเป็นโรงเรียนอย่างจริงจัง ด้วย และมีการส่งเสริมให้นักแสตนด์อัพคอเมดี้ได้ลอง เข้าไปแสดงในเทศกาลการแสดงนี้ ที่มีอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น HBO’s U.S. Comedy Arts Festival ในสหรัฐฯ Just for laughs ในแคนาดา Edinburgh Fringe ในสกอตแลนด์ และ Comedy Festival ในเมลเบิร์น เป็นต้น


แล้วในประเทศไทยล่ะ? Stand-upcomedy เข้ามาตั้งแต่เมื่อไหร่


ถ้าถามแบบนี้หน้าของ โน้ส อุดม แต้พานิช ต้องลอยเข้ามาในหัวทันทีแน่ คนที่ทําให้คําว่าเดี่ยว ไมโครโฟน เป็นที่รู้จักในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 ในการแสดง เดี่ยว 1 ของเขา ซึ่งหลังจากการแสดง เดี่ยวของโน้ส อุดม ก็ทําให้เกิดกระแสการแสดงเดี่ยวในสเกลใหญ่ ๆ โดยนักแสดงตลก หรือ นักพูดขึ้นมาอีกมากมายหลายคน




แต่ถ้าสืบย้อนกลับไปดูการแสดงของไทยจริง ๆ จะเห็นว่าไทยเองก็มีการแสดงตลกประมาณ Vaudeville หรือ Minstrel shows อยู่เหมือนกันนั่นก็คือ ‘จําอวด’ นั่นเอง

ถ้าเปิดพจนานุกรมดู ก็จะพบ ความหมายว่า “การแสดงชนิดหนึ่ง แสดงเป็นหมู่ โดยใช้ถ้อยคําชวนให้ตลกขบขัน” การแสดงก็เหมือน Vaudeville เลย คือต้องมีดนตรีไทยหรืออาจจะสลับดนตรีสากลบ้าง มีการเล่นเบิกโรง มีการรํา ไม่ใช่แค่มาพูดตลกขําขันอย่างเดียว

ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่านอกจากจะได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงพูดตลกเดี่ยวแบบตะวันตกแล้วมันก็เติบโตและพัฒนามาจากการแสดงพื้นบ้านทั้งหลายของไทยที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขันนั่นแหละ


มาจนถึงวันนี้วงการเดี่ยวไมโครโฟนของบ้านเราเองก็กําลังรุดหน้าและก้าวเดินไปเรื่อย ๆ ไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ เขาเหมือนกันนะ อย่างน้อยในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เราก็สามารถหาฟังหาชมเดี่ยวไมโครโฟนได้ง่าย ขึ้นไม่ต้องรอพี่โน้ส อุดม แต้พานิช มาเดี่ยวให้ฟังปีครั้ง สองปีครั้ง อีกต่อไปแล้ว


หวังว่าต่อไปมันจะพัฒนาไปถึงขั้นที่ว่านึกอยากจะฟังวันนี้ก็มีให้ฟังเลย แค่เดินไปที่คลับหรือบาร์ไม่ไกลจากบ้านก็ดูได้แล้ว


ขอให้วันนั้นมาถึงเร็ว ๆ เถอะนะ


ดู 286 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page