top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนบีเบนซ์

ประเภท ของการแสดง 'แสตนด์อัพคอมมิดี้' ในต่างประเทศ

อัปเดตเมื่อ 4 ก.พ. 2564

บทความโดย: บีเบนซ์ - พงศธร ธิติศรัณย์ (Bebenz Pongsatorn)


เนื้อหาถัดจากนี้ คือ 10 ประเภท

การแสดงแสตนด์อัพคอมเมดี้ และศิลปินตลก ในต่างประเทศ

ที่จะแสดงให้เห็นว่า ทำอย่างไร?


โดยต้องบอกกล่าวกันก่อนว่า

เนื้อหาเหล่านี้ ไม่ได้ครอบคลุมจักรวาลแบบน้ำป้าเช็ง

แต่เริ่มมาจากเจตนาดี ที่จะสรุปประเภทวิธีการของสุดยอดนักแสดงตลก

ที่หลายคนใช้เขียนบท นำมาแสดงบทเวที จนกลายเป็นมรดกที่เราสามารถใช้ศึกษาต่อได้


ซึ่งผมได้เอามาจัดเรียง ตามประเภทของเนื้อหา

ดังรายงาน – ต่อไปนี้





1.

การเฝ้าสังเกต (OBSERVATIONAL)


สำหรับประเภทแรก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของประเภทนี้

คือสุดยอดนักแสดงตลกของอเมริกานามว่า เจอร์รี่ ไซน์เฟลด์ (Jerry Seinfeld)

ซึ่งเขาเป็นนักแสดงตลกที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ในปี 2019

มีรายการตลกล่าสุดในเน็ทฟริก คือรายการ 'นักแสดงตลกนั่งรถจิบกาแฟ'

หากเสิร์ทหาภาษาอังกฤษคือ Comedian in car getting coffee



เจอรี่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

กับการเล่นบทกึ่งสมมุติของตัวเองในซิทคอม

ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เกี่ยวกับวิธีการเล่นแบบการบิดเรื่องราวให้เห็นชัดเจนในอีกมุม

และแน่นอนว่า บรรทัดเปิดที่เป็นเอกลักษณ์คือ แนวๆ ที่ว่าด้วยการตั้งคำถาม

"ฉันต้องดีลกับอะไร ฉันกำลังต้องต่อสู้กับอะไร

และ อะไรคือสิ่งที่ต้องต่อรอง"

นั่นคือ วิธีการในข้อนี้


อีกคน ที่อยู่ในประเภทนี้

เป็นนักแสดงตลก เชื้อสายอินเดีย

คือ รัสเซลล์ ปีเตอร์ (Russell Peter)




ลองไปดูการแสดงของทั้งสองคน ในเน็ทฟริก (Netflix) ได้


2.

ทางเลือก (ALTERNATIVE)


ว่ากันอย่างตรงไปตรงมา ก็คือ

ข้อนี้เป็นประเภทตลก ที่แยกตัวออไปจากทางเลือกกระแสหลักที่ถูกยอมรับจากคนส่วนมาก

ว่าง่ายๆ คือ ฉีกกรอบออกไป ใครทำสิ่งไหน เราไม่ทำ จะทำอีกแบบ


เป็นสไตล์ที่มีแนวคิดชัดเจนแบบนิยมปัญหาและอุปาทาน

แพตตัน ออสวัสดิ์ (Patton Oswalt) คือตัวอย่างของประเภทนี้



หาดูนักแสดงคนนี้ได้ในเน็ทฟริก (Netflix) เช่นเดิม



3.

เล่าเรื่องราว (ANECDOTAL)


นี่เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมที่สุด ในการแสดงตลกแสตนด์อัพคอมเมดี้

การจะทำแบบนี้ได้ ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการใช้ศิลปะศิลปะการเล่าเรื่อง

คือเอาเรื่องเล่าที่มี มารับใช้ในการแสดงบนเวที


เหมือนกับว่า มีเรื่องราวเกิดขึ้นในชีวิต มากระทบความรู้สึก

มีเรื่องราวเกิดขึ้นในความคิด แล้วก็ใช้ศิลปะการเล่ามาจับ

มาถ่ายทอดออกไปด้วยอารมณ์ขัน


เรามักจะเข้าใจเรื่องนี้มากที่สุด เพราะเป็นเรื่องของเราเอง


ตัวอย่างของประเภทนี้คือ

1. บิล เบอร์ (Bill Burr)

2. เดฟ ชาฟเพลล์ (Dave chappelle)

3. เควิน ฮาร์ท (Kevin Hart)

4. ฮันนิบาล เบอร์เรส (Hannibal Burress)



มีในเน็ทฟริก (Netflix) เช่นกัน


และคิดว่าพี่โน้ส อุดม ก็มีส่วนในการแสดงปะเภทนี้เป็นอย่างมาก

และที่สุดยอดไปกว่านั้น คือการเอาบทที่บางทีไม่เกี่ยวข้องกันเลย

มาเชื่อมร้อยอย่างสวยงาม ให้เป็นเรื่องเดียวกัน


4.

เย้ยหยัน (INSULT)


เรื่องนี้ อย่างที่ทราบกันดีว่า

เป็นเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง และสำคัญ

เรื่องราวการเหยียด การดูถูก การสบประมาท การดูหมิ่นดูแคลน การหยามหน้า

หากใครไปแตะต้องเรื่องนี้เข้า บางคนถึงกับต้องมีอันเป็นไป


แต่ถ้าหากมองในโลกของศิลปะแล้ว

เราจะรับรู้ได้ว่า วิธีการเล่าแบบนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเล่น

ที่มีมาเนิ่นนาน และก็ยังดำรงมาถึงในสมัยนี้

ไม่ผิดหรอก


เพราะหากเราแยกแยะเรื่องเล่าตลกบนเวที ออกจากความเป็นจริง

เราจะไม่โกรธแค้น และสามารถให้อภัยกับเรื่องเช่นนี้ได้

เพราะรู้กันดีว่า จุดมุ่งหมายของนักแสดงตลก คือแสดงตลก

ก็คือทำให้ผู้ชมหัวเราะ - เรื่องมันก็เรียบง่ายเช่นนี้


ผมเคยได้ยินคำพูดนึงมาว่า

บางเรื่องเล่าที่เล่าออกมา ไม่ใช่เพราะเราคิดแบบนั้น

แต่เพราะคิดว่าว่า ถ้าเอาเรื่องนี้ไปเล่าบนเวที มันจะตลกต่างหาก

ก็เท่านั้นเอง


5.

อิมโพรไวท์ (IMPROV)


แปลตรงตัวก็คือ 'การด้นสด'

คือ การแสดงที่ลื่นไหลไปกับสถานการณ์ตรงหน้า

หรือเรียกง่ายๆ ว่า การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตรงนั้น

เราจะสังเกตเห็นเองเมื่อมีผู้พูดสักคนอยู่ แล้วมีอะไรที่ผิดปกติเข้ามา

แล้วคนนั้น สามารถหยิบจับมาเป็นวัตถุดิบเล่าได้ทัน


แต่การแสดงในต่างประเทศนั้น

การแสดงชนิดนี้ส่วนใหญ่ มักจะเล่นกันมากกว่าหนึ่งคนบนเวที

มันคือการสร้างฉาก ตัวละคร สถานการณ์ขึ้นมาเล่าบนเวที เหมือนภาพยนตร์

โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน คือการที่นักแสดงคิดตลอดเวลาว่า

ใช่ และ... (อย่างไรต่อไป)


มันคือการโยนการกระทำ คำพูด ลงไปในตัวละครที่สวมบทบาท

กับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น โดยจะไม่มีการคัทตัวเองให้จบ


ไม่มีอะไรกำหนดไว้ล่วงหน้า

และนักแสดงต้องสนับสนุนความจริงของกันและกัน ในระหว่างแสดง

ให้แสดงโดยที่หมายความว่า ใช่ และ... ไปเรื่อยๆ

เรื่องราวจะดำเนินจากการรับส่งกันไปเรื่อยๆ

คล้ายการตีปิงปองโต้กัน


ตัวอย่างโชว์ในเน็ทฟริก คือ

มิลเดิลดิตซ์กับชวาร์ตซ์ แสตนด์อัพคอมเมดี้แนวเล่นสด



6.

สถานการณ์ (SKETCH COMEDY)


วิธีการเล่นของตลกประเภทนี้ คือการเล่นตลกแบบ 'จบในตอน'

ดังที่เราเคยดูมาหมายแบบ ในประเทศเราก็อย่างแนว ตลกหกฉาก

คือใช้ตัวละครตัวเดิม กับสถานการณ์ใหม่ๆ สลับบทบาทกันไป


โลกใบนี้หากเป็นนักแสดงจากต่างประเทศ

ที่เราสามารถหาชมได้ในเน็ทฟริก ก็คือ ทิน่า เฟย์ (Tina Fey)

นักแสดงตลกใน Saturday Night life



7.

หัวข้อ (TOPICAL)


ประเภทนี้ เป็นการกำหนดหัวเรื่องของเรื่องเล่า

เราคงจะคุ้นเคยกันดี กับโชว์ของ 'ยืนเดี่ยว' ที่ผ่านมา


ที่จะมีหัวข้อหัวเรื่องในโชว์นั้นๆ

แล้วก็เชิญแสตนด์อัพคอมเมดี้มาเล่าเกี่ยวกับสิ่งนั้นร่วมกันทีละคนบนเวที

ใครอยากเล่าเรื่องไหน กับหัวข้อที่ได้รับมา ก็คิดเรื่องราวที่เกี่ยวกับสิ่งนั้นมาแสดง


การแสดงแบบนี้ จึงไม่ค่อยไม่ได้เริ่มจาก

การที่คอมมีเดี้ยน มีเรื่องที่อยากจะเล่าก่อนโดยตรง

แต่เป็นการรับใช้โจทย์ ที่กำหนดหัวข้อกว้างๆ เอาไว้ เพื่อให้ไปคิดเรื่องเล่าต่อเอง


หัวข้อเรื่อง ที่ยืนเดี่ยวเคยจัดโชว์มาก็ เช่น

เปลืองตัว – เรื่องราวเปลืองตัวของคอมมีเดี้ยน

คนกลางคืน – ชีวิตกลางคืนของคอมมีเดี้ยน

สภากาแฟ – คล้ายการเอาเรื่องราวที่เล่าบนโต๊ะกาแฟในสมัยก่อนมาเป็นธีมหลักในงาน

ครั้งแรก - ประสบการณ์ครั้งแรกของคอมมิเดี้ยน





8.

หน้าตาย (DEADPAN)


สิ่งนี้ เป็นวิธีการเขียนบท

เพื่อนำเอามาแสดงตลกแนวแบบ 'อัจริยะเค้าทำกัน'


ผมคิดว่าการแสดงแบบนี้ในต่างประเทศ

คนแสดง จะมีบทที่เฉียบคมมากๆ คิด และกลั่นกรองมาเป็นอย่างดีแล้ว


"เป็นวิธีการเล่า ที่ส่วนท้ายของประโยค

จะทำให้คุณต้องตีความซ้ำทั้งประโยคอีกครั้ง"


เรียกว่าเป็นท่าไม้ตายที่สมบูรณ์แบบ

โดยมาก มักเป็นเรื่องสั้นๆ แบบหนึ่งประโยค หรือ สองประโยค จบ

คือหลังจากเล่าถึงประโยคสุดท้าย

คนฟังจะต้องใช้เวลาคิดพักนึงก่อนจะเข้าใจ และระเบิดเสียงหัวเราะออกมา


ผมคุ้นๆ ว่า ถ้าประเภทนี้ มีมุกของพี่โน้ส อุดม อยู่หนึ่งมุก

คือมุก หนึ่งข้อ

ประโยคสั้นๆ ที่เล่าคือ มาจากการที่แม่ของพี่โน้ส เคยบอกวิธีการหุงข้าว

ว่า "จะหุงข้าวให้พอดี จำไว้ข้อเดียวลูก ข้อเดียว"

แล้วพี่โน้สก็ยืนนิ่ง ให้ผู้ชมคิดว่า อะไรคือข้อเดียว


จนใครบางคนเริ่มคิดได้ว่า

"อ๋อ ข้อนิ้วเดียว"

เป็นอันจบมุก


แล้วพอหลังจากหนึ่งคนเข้าใจ สองสามสี่คนก็จะเริ่มเข้าใจ

และหากบางคนยังไม่เก็ทก็จะมีคนข้างๆ อธิบายให้ฟังจนเข้าใจ

ไม่ก็คอมมีเดี้ยนเฉลยให้ฟัง



ถ้าเป็นนักแสดงต่างประเทศที่ใช้วิธีการนี้ ในเน็ทฟริก ก็คือ

1. ดิมิทรี มาร์ติน (Demetri Martin)

2. นีล เบรนแนน (Neal Brennan)




9.

ละครเพลง (MUSICAL)


อ่านจากหัวข้อแล้ว ก็ไม่น่าเดายาก

ข้อนี้ขอจบแบบไวๆ เลยก็คือ

เปนประเภท การแสดงที่ใช้ดนตรี ทำนอง และใช้เพลงมาเกี่ยวข้อง

โดยมีอารมณ์ขันในนั้น


ตั้งแต่แต่งเพลงขึ้นมาใหม่ เอาเพลงเก่ามาบิดมาดัดใหม่

เอาเพลงเดิมของคนอื่น มาแปลงเป็นเพลงใหม่

รวมไปถึงการเอาจังหวะ วิธีการแต่งคำคล้องจองมาใช้งาน

เพื่อให้เกิดเป็นเรื่องราวที่จะเล่า


เป็นได้ทั้งแต่งสดๆ บนเวที

หรือเตรียมเขียนบทก่อนมาแสดงก็ได้ทั้งนั้น


10.

เหนือจริง (SURREAL)


เป็นเรื่องราวของการแสดงตลกแบบ ไร้สาระ

ดูเหมือนไม่มีแก่นสาร และเหนือจริง


แต่นี่ก็เป็นวิธีการออกแบบเนื้อหาและสไตล์วิธีการเล่น

จนสามารถควบคุมเนื้อหาได้สมบูรณ์แบบ


เอาจริงๆ หัวข้อนี้ ผมไม่ค่อยรู้จักสิ่งที่ผู้เขียนยกตัวอย่างมา

แต่ผมก็พอเดาได้ว่า จะเป็นวิธีการเล่าแบบชาร์ลี แชปปริ้น

ที่เป็นคนเขียนบทที่จะเล่าเอง กำกับเอง แสดงเอง

ควบคุมเนื้อหาทั้งหมดเอง


ดูไปแล้วก็เหมือนจะไร้สาระ

แต่ก็ไร้สาระจริงๆ


มันก็แหงอยู่แล้ว

เพระสุดท้าย เราก็มีเซนต์ตลกกับเรื่องเหล่านี้เป็นปกติ


-----------------------------------------------------------


และนี้ก็คือทั้ง 10 ประเภท

ของประเภทการแสดงตลกในต่างประเทศ ที่ถูกเขียนบทความเอาไว้

ผมเป็นเพียงผู้แปล เอามาเรียบเรียงใหม่ และยกตัวอย่างตามสิ่งที่ตีความเท่านั้น


อาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วนกระบวนความ

ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้


เพราะเอาจริงๆ แล้ว เรื่องตลก ก็คือเรื่องตลก

เรื่องตลก ก็คือเรื่องที่เราหัวเราะกับสิ่งที่เกิดขึ้นและถูกเล่าออกมา

ไม่ว่าจะยังไงก็แล้วแต่ เรื่องตลกนั้น มักอยู่เหนือพื้นที่และกาลเวลาเสมอ

ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ สีผิว อายุ

เรื่องตลก คือความเป็นมนุษย์


หากว่ากันให้ลึกที่สุดแล้ว

การแสดงตลก ก็คงมีมากกว่า 10 ประเภท

และบางที อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการแบ่งประเภทตามวิธีการ หรือการเล่าเรื่องเลย


เพราะการจัดอันดับประเภทของเรื่องตลก

มันก็คงจะตลกเกินไป.


---------------------------------------------------------------------------------


ปล.

(*** บทความนี้ ผู้เขียนมิได้เขียนขึ้นเอง แต่เป็นการแปลความจากภาษาอังกฤษ และเรียบเรียงเนื้อหา

ซึ่งผู้เขียนคือ: Maanya Sachdeva)



ดู 267 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page